วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555


ภาษาญี่ปุ่นง่าย ๆ
...โดย บัณฑิต

()ける กับ ()かる ต่างกันอย่างไร

1272280269

ดูเหมือนจะเป็นศัพท์ง่าย ๆ ที่เรียนกันมานานแล้ว  แต่จะแยกออกไหมครับว่าใช้ต่างกันอย่างไร 
ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีแบ่งคำกริยาแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า สกรรมกริยา 他動詞(たどうし) กับ อกรรมกริยา自動詞 (じどうし)
สกรรมกริยา 他動詞(たどうし) ต้องมีกรรมเสมอ เช่น
() อ่าน
ต้องมีกรรมเสมอว่า อ่านอะไร  สังเกตง่าย ๆ ว่าหน้าคำกริยาประเภทนี้จะต้องมี  ที่แสดงกรรม
อกรรมกริยา 自動詞 (じどうし) คือคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม เช่น
() ไป
ไม่จำเป็นต้องมีกรรมว่าไปอะไร  หน้าคำกริยาประเภทนี้อาจเป็นได้ทั้งคำช่วย へ、に
นอกจากอกรรมกริยาและสกรรมกริยาที่ชัดเจนดังกล่าวแล้ว  ยังมีอกรรมกริยา และสกรรมกริยาที่เป็นคำคู่กัน แต่มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อยตามหน้าที่ว่าเป็นอกรรมหรือสกรรม ดังคำกริยาที่เราจะนำมาอธิบายในครั้งนี้ คือ
()ける รับ (ของ), รับ (การสอบ) เป็นต้น
()かる ผ่าน (การสอบ), ผ่าน (การคัดเลือก) เป็นต้น
เพราะฉะนั้นคำกริยา คำนี้ที่ดูเหมือนคำกริยาเดียวกัน ใช้คันจิตัวเดียวกัน ต่างกันตรง  กับ เท่านั้น สำหรับคนญี่ปุ่นเขาบอกว่าเป็นคำกริยาเดียวกันที่ทำหน้าที่ต่างกันเท่านั้น   แต่กลับมีความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิงสำหรับคนไทยที่จะจดจำวิธีใช้แยกแยะกันให้ดี โดยจำประโยคตัวอย่างนี้ให้ดี
試験(しけん)を受()けた。 ได้สอบ (ได้รับการสอบ)
試験(しけん)に受()かった。 สอบได้ (ผ่านการสอบ)
เพียงแค่นี้คงทำให้เข้าใจง่ายขึ้นแล้วนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น